23-27
สิงหาคม
2553
ณ มหาวิทยาลัยชูเกียว นาโกยา ประเทศญี่ปุ่น
|
|
ความมุ่งหมายของการประชุมนานาชาติเรื่องการคิดในยุคปั่นป่วน
|
ในอนาคตที่ไม่อาจทำนายได้
เราเผ่าพันธุ์มนุษย์กำลังเผชิญกับปัญหาสารพัดที่เราไม่เคยพบมาก่อน
และเราจะประสบกับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหวนกลับในศตวรรษที่
21
หากไม่เปลี่ยนฐานการคิดใหม่
บัดนี้เราได้เห็นแล้วว่าวิธีดั้งเดิมของการคิดแบบถดถอยซึ่งเน้นข้อมูลจากอดีตและปัจจุบันเพื่อวิเคราะห์อนาคตนั้นไม่มีประโยชน์
เนื่องจากไม่อาจประกันการพยากรณ์อนาคตได้จากกรณีศึกษาแฃะการวิเคราะห์อดีตอย่างละเอียด
ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาอินเตอร์เน็ต ยังทำให้มนุษย์เข้าสู่วังวนใหม่
ฝังตัวเองในกระแสธารของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปรากฏการณ์
“ข่าวสารเกินจำเป็น” นี้เป็นสาเหตุของการขาดระเบียบในชีวิตประจำวัน
และทำลายการแบ่งปันคุณค่าความเป็นมนุษย์
|
เรากำลังอยู่ในยุคเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรกับการใช้องค์ความรู้
ข่าวสารส่วนขยายจากความรู้ และสังคมข่าวสาร
อย่างไรก็ดีหากคำนึงถึงข่าวสารและองค์ความรู้ “การคิดในอนาคต”
ยังคงพึ่งพาความคิด มโนทัศน์ ที่มาจากอดีตและปัจจุบันอยู่
เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังไม่ได้ถูกปลดปล่อยจาก “การคิดแบบถดถอย”
ซึ่งเป็นรากฐานของการคิดเชิงเลขฐาน
0-1
ที่เฟื่องฟูในยุคข่าวสาร
ยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์ยังแบ่งแยกและลดทอนเหตุการณ์ทั้งหลายอย่างไม่รู้ตัว
การแบ่งและลดทอนนี้เป็นต้นเหตุใหญ่ของปัญหาที่แก้ไม่ได้
การเสื่อมถอยของมนุษยชาติมีสาเหตุมาจากการแบ่งเป็นเลขย่อยนั่นเองที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและอาชญากรรมในทุกวันนี้
|
การประชุมนานาชาติครั้งที่สองนี้
ตั้งอยู่บนแนวคิดที่เรียกว่า “การคิดผ่าทางตัน”
อาศัยการคิดในแนวใหม่นี้เราสามารถเรียนรู้การสร้างคำตอบในอนาคตด้วย
“การคิดแบบบูรณาการ“
ซึ่งเป็นการคิดที่คำนึงถึงองค์รวมและความสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างคำตอบ
การประชุมนานาชาติครั้งที่สองนี้
มุ่งเป้าหมายไปที่อนาคตของการพัฒนามนุษย์โดยอาศัยผู้คนจากหลากหลายด้าน
ด้วยเข็มมุ่งไปที่การคิดสำหรับศตวรรษที่
21
นั่นคือ “การคิดแบบผ่าทางตัน”
เพื่อรับมือกับ
“ยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างปั่นป่วน”ปั่นป่วน”
|
|
แนวทางมากิซูชิ – มโนทัศน์ของการประชุมนานาชาติครั้งที่สอง |
1.
ผู้เข้าร่วมประชุม:-
นักเศรษฐศาสตร์ ผู้บริหาร วิศวกร นักวิชาการ นักธุรกิจ เกษตรกร
นักการเมือง นักศึกษา แม่บ้าน เจ้าของภัตตาคาร ครู นักปรัชญา ฯลฯ
บุคคลทั่ไป กลุ่มคนจากทุกสาขาจะมาร่วมงาน
|
|
2.
แนวทางมากิซูชิ:-
(ซูชิ คือส่านประกอบที่มีรสชาดต่าง ๆ
ห่อเป็นม้วนเข้ากันด้วยแผ่นสาหร่าย)
แต่ละกลุ่มที่เข้าร่วมจะวางแผนและการดำเนินการประ ชุมเป็นอิสระ
อย่างไรก็ดีแนวคิดพื้นฐานของการประชุมครั้งนี้มุ่งไปที่การร่วมกันเปิดการประชุม
กล่าวคือการรวมความคิดและการร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่จำเป็น
เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายก็จะมีการประชุมร่วมกันครั้งสุดท้ายในลักษณะข้ามกลุ่มหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมอย่างเป็นอิสระของแต่ละกลุ่มแล้ว
การม้วนรวมความคิดตามแนวทาง “มากิซูชิ”
เข้าด้วยกันจะพัฒนากระบวนการสร้างคำตอบใหม่
ยกตัวอย่างการรวมความคิดแต่ละอย่าง
หรือคำตอบที่เป็นแนวทางใหม่ เช่น
ภัตตาคารเป็นความร่วมมือระหว่างการเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นต้น
การคิดรวมเช่นการควบคุมทางการแพทย์และสุขภาพ
การบริหารภาครัฐและการจัดการทางธุรกิจ
เหล่านี้จะเป็นเป้าหมายสุดท้ายของเรา
การคิดลักษณนี้จะสร้างระบบการผลิตใหม่แบบไร้พรมแดน
ธุรกิจใหม่ที่มีการพบกันระหว่างนักธุรกิจและนักวิชาการ
ระบบาศรษฐกิจใหม่ของความดีงาม
การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยาข่าวสาร
ก็จะถูกสร้างขึ้นมาด้วยกันในระยะยาว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
09:30-17:00 |
การประชุมเชิงปฏิบัติการ |
|
09:30-16:30 |
การประชุมเชิงปฏิบัติการ |
รายการพิเศษ:
ชมโรงงานโตโยต้า มหาวิทยาลัยชูเกียว เมืองนาโกย่า |
|
การประชุมช่วงเช้า |
ปาฐกถานำ |
(1)
“การคิดผ่าทางตันในศตวรรษที่
21”
ศ. จี แนดเลอร์ และ ศ. เอส ฮิบิโน |
(2)““ปรัชญาบูรณาการ”
โดย ศ. เอ็ม โยชิกาวา |
การประชุมบ่าย |
เปิดการประชุมร่วม
มากิซูชิ
|
การบรรยายพิเศษ นำเสนองานวิจัยและกรณีศึกษา
|
|
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ
การควบคุมคุณภาพ การศึกษา ภาวะผู้นำ การปรึกษา
รัฐบาล การเกษตร การสร้างสรรและนวัตกรรม
วิกฤติเศรษฐกิจและความมั่นคง ฯลฯ |
|
งานเลี้ยงต้อนรับ |
|
|
เปิดการประชุมร่วม มากิซูชิ |
การบรรยายพิเศษ
นำเสนองานวิจัยและกรณีศึกษาเช่นเดียวกับข้างบน |
|
|
การประชุมร่วม
มากิซูชิ |
การบรรยายพิเศษ
นำเสนองานวิจัยและกรณีศึกษาเช่นเดียวกับข้างบนน |
การประชุมบ่าย |
เปิดการประชุมร่วมมากิซูช |
การประชุมบูรณาการรวม
และการประกาศผลการประชุมนานาชาติ
|
งานเลี้ยงอำลา |
|
|
บทความที่มีคุณภาพจะได้รับเชิญให้นำเสนอ
กรุณาส่งบทคัดย่อที่สำนักงานจัดการประชุม
จะต้องส่งบทความไม่ช้าไปกว่าวันที่
25
ธันวาคม
2552
และวันสุดท้ายของการลงทะเบียนล่วงหน้าคือวันที่
31
เมษายน
2553
|
|
การประชุม (3
วัน) |
15,000
เยน |
● ลงทะเบียนล่วงหน้า
มีส่วนลด (3
วัน)
12,000
เยน |
การประชุม (1
วัน) |
6,000
เยน |
|
การปาฐกถานำ
|
|
|
|
ดร. เจอรัลด์ แนดเลอร์ |
ศาสตราจารย์ภิชาน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้ |
|
ดร. โชโซ ฮิบิโน |
ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยชูเกียว |
|
ดร. มูนีโอ เจ โยชิกาวา |
ศาสตราจารย์ภืชาน มหาวิทยาลัยฮาวาย
(วิทยาลัยชุมชนคานัวอิ) |
|
ศาสตราจารย์เจอรัลด์
แนดเลอร์ เป็นประธานอาวุโสไอบีเอ็ม ในคณะวิศวกรรมศาสตร์
และศาสตราจารย์กิตติคุณของวิศวกรรรมอุตสาหการและระบบ
ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าภาควิชาตั้งแต่ปี
พ.ศ.
2526
จนถึง
2536
เขายังเป็นผู้บริหารศูนย์วิจัยวิศวกรรมการจัดการและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้อีกด้วย
เขาให้การ ปรึกษา
การสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการในทุกส่วนของโลก
ดร.แนดเลอร์ได้เขียนบทความตีพิมพ์กว่า
225
เรื่องและหนังสือ
15
เล่ม ผลงานหลายฉลับบได้รับการแปลถึงแปดภาษา
เขาได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษกว่า
800
ครั้งในมหาวิทยาลัย บริษัท และการประชุมระดับชาติและนานาชาติ
และยังได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์พิเศษใน
5
มกาวิทยาลัยทั่วโลก
|
ศาสตราจารย์โชโซ
ฮิบิโน ได้ให้กำเนิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการคิดร่วมกับ ดร. เจอรัลด์
แนดเลอร์
และได้ส่งเสริมกระยวนทัศน์ในการคิดใหม่นี้ในโลกยุคปั่นป่วนของศตวรรษที่
21
“การคิดผ่าทางตัน”
ไม่เพียงแต่เป็นวิธีการเท่านั้นแต่เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในแนวทางการคิดใหม่ต่อปัญหาและการสร้างคำตอบ
กระบวนทัศน์นี้รวมปรัชญา แนวทาง เครื่องมือ
และข้อเสนอต่อกรอบการสร้างคำตอบรวม
โดยมุ่งที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ปัจจุบันของการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่ยุคเดส์คาร์ต
กว่า
350
ปีที่แล้ว ในขณะนี้การคิดผ่าทางตันได้แพร่ขยายไปทั่วโลก |
ศาสตราจารย์มูนีโอ
เจ โยชิกาวา และศาสตราจารย์โชโซ ฮิบิโน
ได้พัฒนางานวิจัยร่วมกันในเรื่อง “ปรัชญาบูรณาการ”
สำหรับยุคปั่นป่วนของศควรรษที่
21
ทฤษฎี “โมไบดัส” ซึ่งเสนอโดย ดร.โยชิกาวา
เป็นพี้นฐานของปรัชญานี้ “การคิดผ่าทางตัน”
ก็พิจารณาได้ในรูปการคิดแบบบูรณาการ
การมองทั้งสองแบบของบูรณาการที่ทำให้ก้าวหน้าโดย ดร.โยชิกาวา
และ ดร.ฮิบิโน รวมทั้ง ดร.แนดเลอร์
ขะนำมาเสนอและขยายความในการประชุมครั้งนี้
ก้วยจุดมุ่งหมายที่จะก่อตั้งปรัชญาบูรณาการชนิดใหม่
|
|
|
|
(c) 2009 All right
reserved by the Steering Committee of the 2nd World Congress |